วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การละเล่นประเทศบรูไน (ลากกาบมะพร้าว (Tarik Upeh))

การละเล่นประเทศบรูไน  (ลากกาบมะพร้าว (Tarik Upeh))
สถานที่เล่น
  • บริเวณลานกว้างทั่วไป  เช่น  สนามหญ้าหรือสนามกีฬา

ผู้เล่น
  • เล่นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง   ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น

อุปกรณ์
  • กาบมะพร้าวที่สามารถนั่งได้

วิธีเล่น
  • ผู้เล่นจับคู่กัน โดยผลัดกันเป็นผู้นั่งและผู้ลาก
  • ผู้นั่งจะนั่งบนกาบมะพร้าว โดยมือทั้งสองข้างจับก้านมะพร้าวให้แน่น
  • ผู้ลากจับบริเวณก้านกาบมะพร้าวแล้วดึงลากไปตามพื้นดินหรือสนามหญ้า






แหล่งที่มาของเนื้อหา :  https://project542.wordpress.com/
แหล่งที่มาของวีดีโอ : https://www.youtube.com/watch?v=20LCQzgNY90

การละเล่นแบบญี่่ปุ่น (เป่ายิ้งฉุบแบบญี่ปุ่น (じゃんけん Jan-ken)

การละเล่นแบบญี่่ปุ่น      (เป่ายิ้งฉุบแบบญี่ปุ่น (じゃんけん Jan-ken)
ทุกคนทั่วโลกย่อมเคยผ่านช่วงชีวิตวัยเด็กกันมาแล้ว แต่ละประเทศก็มีการคิดค้นรูปแบบการละเล่นที่ทำให้ช่วยฝึกสมองและออกกำลังกายไปพร้อมกัน นอกจากนี้ยังสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนฝูงอีกด้วย การละเล่นนี้ต้องมีผู้เล่นสองฝ่ายและใช้มือในการเสี่ยงทาย ทำให้เกิดความสนุกสนาน ซึ่งประกอบไปด้วย (ค้อน-กรรไกร-กระดาษ) แต่ถ้าเป็นภาษาญี่ปุ่นเค้าจะเรียกว่าอะไรกันนะ…


หิน (กำปั้น) ชนะ กรรไกร
ภาษาญี่ปุ่น หิน  石(i-shi) เรียกว่า グー (guu)







กรรไกร ( ชูนิ้วชี้และนิ้วกลาง) ชนะ กระดาษ
ภาษาญี่ปุ่น กรรไกร 鋏 (ha-sa-mi) เรียกว่า チョキ (chok-ki)







กระดาษ (แบบมือออกไปทั้งหมด) ชนะ หิน
ภาษาญี่ปุ่น กระดาษ 紙 (ka-mi) เรียกว่า パー (paa)










แหล่งที่มาของเนื้อหา : https://www.marumura.com/jan-ken/
แหล่งที่มาของวีดิโอ : https://www.youtube.com/watch?v=Kd-Tr6ErqBA

การละเล่นพื้นบ้านภาคใต้ (หมากขุม)

การละเล่นพื้นบ้านภาคใต้  (หมากขุม)
อุปกรณ์ในการเล่น
  1. รางหมากขุม เป็นรูปเรือทำจากไม้ ยาวประมาณ ๑๓๐ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๒๐ เซนติเมตร มีหลุมเรียงเป็น ๒ แถว หลุมกว้างประมาณ ๗ เซนติเมตร ลึกประมาณ ๔ เซนติเมตร  มีด้านละ ๗ หลุม เรียกหลุมว่า เมือง หลุมที่อยู่ปลายสุดทั้งสองข้างเป็นหลุมใหญ่กว้างประมาณ ๑๑ เซนติเมตร เรียกว่า หัวเมือง
  2. ลูกหมาก นิยมใช้ลูกสวดเป็นลูกหมาก ใส่ลูกหมากหลุมละ ๗ ลูก จึงต้องใช้ลูกหมาก ในการเล่น ๙๘ ลูก
  3. ผู้เล่นมี ๒ คน
วิธีการเล่น
  1. ผู้เล่นนั่งคนละข้างกับรางหมากขุม แต่ละคนใส่ลูกหมากหลุมละ ๗ ลูก ทั้ง ๗ หลุม ส่วนหลุมหัวเมืองไม่ต้องใส่ให้เว้นว่างไว้
  2. การเดินหมาก ผู้เล่นจะเริ่มเดินพร้อมกันทั้ง ๒ ฝ่าย เรียกว่า แข่งเมือง โดยหยิบลูกหมากจากหลุมเมืองของตนหลุมใดก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะหยิบหลุมสุดท้ายของฝ่ายตนเอง เพราะคำนวนว่าเม็ดสุดท้ายจะถึงหัวเมืองของตนพอดี การเดินหมากจะเดินจากขวาไปซ้าย โดยใส่ลูกหมากลงในหลุม ถัดจากหลุมเมืองที่หยิบลูกหมากขึ้นมาเดิน ใส่ลูกหมากหลุมละ ๑ เม็ด รวมทั้งใส่หลุมหัวเมืองฝ่ายตนเอง แล้ววนไปใส่หลุมของฝ่ายตรงกันข้าม ยกเว้นหลุมหัวเมือง เมื่อเดินลูกหมากเม็ดสุดท้ายใส่ในหลุม ให้หยิบลูกหมากทั้งหมดในหลุมนั้นขึ้นมาเดินหมากต่อไป โดยใส่ในหลุมถัดไปเล่นเดินหมากอย่างนี้จนลูกหมากเม็ดสุดท้ายหมดลงในหลุมที่เป็นหลุมว่าง ถือว่าหมากตาย ถ้าเดินหมากตายในหลุมเมืองของฝ่ายตรงข้ามก็ถือว่าสิ้นสุดการเดินหมาก แต่ถ้าตาย ในหลุมเมืองฝ่ายตนเอง ให้ผู้เล่นกินหมากหลุมเมืองซึ่งอยู่ตรงข้ามกับหลุมที่เราเดินหมากมาตาย โดยควักลูกหมากทั้งหมดในหลุมไปไว้ในหลุมหัวเมืองของฝ่ายตน เรียกว่ากินแทนเล่น อย่างนี้จนหลุมเมืองของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหมดลูกหมาก เดินต่อไปไม่ได้ ลูกหมากทั้งหมดจะไปรวมอยู่ในหลุมหัวเมืองของทั้ง ๒ ฝ่าย จึงเริ่มเล่นรอบใหม่ต่อไป
  3. การเดินหมากรอบสอง ผู้เล่นจะผลัดกันเดินทีละคน ทำเช่นเดียวกับการเดินรอบแรก นำลูกหมากจากหลุมหัวเมืองฝ่ายตนเองใส่ลงในหลุม ๆ ละ ๗ ลูก ในฝ่ายของตนเอง คราวนี้แต่ละฝ่ายจะมีลูกหมากไม่เท่ากัน ฝ่ายที่มีลูกหมากมากกว่าจะเป็นผู้เดินหมากก่อน ฝ่ายที่มีลูกหมากน้อยกว่าจะใส่ไม่ครบทุกหลุม หลุมใดมีไม่ครบให้นำลูกหมากที่เหลือไปใส่ในหลุมหัวเมืองฝ่ายตนหลุม ใดไม่มีลูกหมากเรียกว่า เมืองหม้าย ตามปกติหลุมเมืองหม้ายจะปล่อยไว้หลุมปลายแถว หลุมเมืองหม้ายจะไม่ใส่ลูกหมาก ถ้าฝ่ายใดใส่จะถูกริบเป็นของฝ่ายตรงกันข้าม ในกากรเล่นจะเล่นจนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหมดลูกหมากเดินต่อไปไม่ได้และจะนับเมืองหม้าย ใครมีจำนวนเมืองหม้ายมากกว่าฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายแพ้

คุณค่า สาระ แนวคิด

  1. การเล่นหมากขุม มีคุณค่าในการฝึกลับสมอง การวางแผนการเดินหมากจะต้องคำนวน จำนวนลูกหมากในหลุม ไม่ให้หมากตาย และสามารถกลับมาหยิบลูกหมากในหลุมของตนเองได้อีกผู้เดินหมากขุมจึงต้องมีสายตาว่องไว คิดเลขเร็ว เป็นการฝึกวิธีคิดวางแผนจะหยิบหมากในหลุมใดจึงจะชนะฝ่ายตรงกันข้ามเป็นการฝึกให้ผู้เล่นรู้จักคิดวางแผนในการทำงานทุกอย่างสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
  2. เป็นการพักผ่อนหย่อนใจ นันทนาการภายในบ้าน ภายในชุมชน ให้ทั้งความสนุกสนาน และความใกล้ชิดระหว่างพี่น้อง ญาติมิตร
  3. ก่อให้เกิดการประดิษฐ์รางหมากขุม ที่มีความสวยงามและประณีต เป็นความภาคภูมิใจของผู้สร้างชิ้นงาน และยังสามารถสร้างรายได้ในการจำหน่ายรางหมากขุม










เเหล่งที่มาเนื้อหา : http://schoolweb.eduzones.com/kuraburichaipattanaphittayakom/content.php?view=20150218005643NOWfTpW
เเหล่งที่มาวีดีโอ :https://www.youtube.com/watch?v=ZVl5Fhj6I6g

การละเล่นพื้นบ้านภาคเหนือ (ม้าจกคอก)


การละเล่นพื้นบ้านภาคเหนือ   (ม้าจกคอก)

จำนวนผู้เล่น  ตั้งแต่ ๓ คนขึ้นไป

อุปกรณ์
             ๑. ไม้กลมขนาดกำรอบ ยาวประมาณ ๕ ศอก จำนวน ๒ ท่อน
             ๒. ขอนไม้สูงประมาณ ๑ คืบ ยาวประมาณ ๑-๒ ศอก จำนวน ๒ ท่อน

วิธีการเล่น  
             ๑. แบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายแรกมี ๒ คน สำหรับถือท่อนไม้ที่วางขนานบนขอนไม้ แล้วกระทบกันเป็นจังหวะ ส่วนฝ่ายที่ ๒ มี ๒ คนขึ้นไป สำหรับเป็นผู้เต้น
             ๒. ให้ผู้เล่นเข้าไปอยู่ระหว่างคาน ผู้ถือไม้คานทั้งคู่ก็ทำสัญญาณ โดยยกคานไม้ทั้งคู่กระแทกลงบนไม้หมอน ระหว่างที่เคาะจังหวะอยู่นั้นผู้เล่นต้องเต้นไปด้วย เมื่อให้สัญญาณเคาะ ๓ ครั้งแล้ว ครั้งที่ ๔ ผู้ถือจะเอาคานทั้งสองเข้าชิดกัน ผู้เต้นจะต้องกระโดดให้สูงกว่าครั้งแรกของจังหวะและแยกขาออกให้พ้นไม้ ถ้าถูกหนีบเรียกว่า ม้าขำคอก หรือม้าติดคอก คู่ที่ถูกไม้หนีบจะต้องออกไปเปลี่ยนให้ผู้ที่ถือคานอยู่เดิมนั้นเข้ามาเต้น ในระหว่างคานนั้นบ้าง
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
      การเล่นม้าจกคอกนิยมเล่นในวันขึ้นปีใหม่ (สงกรานต์) ของล้านนา
สาระ
    การเล่นม้าจกคอก เป็นการละเล่นเพื่อให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ทำให้เกิดความสามัคคีภายในกลุ่มและความมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
 


















แหล่งที่เนื้อหา : http://schoolweb.eduzones.com/kuraburichaipattanaphittayakom/content.php?view=20150218005542xKm2jjF
แหล่งที่มาวีดิโอ ; https://www.youtube.com/watch?v=_8XX0Yea8TM

การละเล่นพื้นบ้านภาคกลาง (ว่าว)

การละเล่นพื้นบ้านภาคกลาง  (ว่าว)

อุปกรณ์

             ว่าวโดยทั่วไปมีโครงสร้าง ประกอบด้วยไม้ไผ่สีสุกนำมาผ่าแล้วเหลาให้ได้ตามที่ต้องการแล้วนำมาประกอบกัน ให้เป็นรูปทรงต่างๆผูกติดกันด้วยเชือกโยงยึดกันเป็นโครงสร้างและปิดด้วย กระดาษชนิดบางเหนียว เช่น กระดาษสาและตกแต่งลวดลายด้วยจุดหรือดอกดวงเพื่อปิดยึดกระดาษกับเชือกให้แน่น ว่าวที่นิยมกันคือ ว่าวจุฬา     ว่าวปักเป้า ว่าวหง่าว
            - ว่าวจุฬาซึ่งมี โครงสร้างประกอบด้วยไม้ไผ่สีสุก 5ชิ้น มีจำปา 5ดอกทำด้วยไม้ไผ่ยาว 8นิ้ว เหลากลมโตประมาณ 3มิลลิเมตร จำปา 1ดอกมีจำนวนไม้ 8อันมัดแน่นกับสายป่านที่ชักว่าวจุฬาอันเป็นอาวุธที่ใช้ต่อสู้กับปักเป้า
            - ว่าวปักเป้า มีโครงสร้างประกอบด้วยไม้ไผ่สีสุกเหลากลม 2ชิ้นมีเหนียงเป็นเชือกยาว 8เมตรผูกปลายทั้งสองข้างให้หย่อนเป็นสายรูปครึ่งวงกลมเพื่อคล้องตัวว่าวจุฬา ให้เสียสมดุลจึงตกลงพื้นดิน
            - ว่าวหง่าว ทำด้วยโครงไม้ไผ่ปิดกระดาษสา ลำตัวตอนบนมีรูปคล้ายอกว่าวจุฬามีเอวคอดและท่อนล่างกว่าท่อนบน ตอนส่วนหัวมีไม้ไผ่เหลาและขึงเชือกเหมือนคันธนู ส่วนขึงเชือกนี้จะเกิดเสียงเมื่อต้องลม เสียงนี้ช่วยกำจัดความชั่วร้ายได้
             ปัจจุบันว่าวที่มีการเล่นโดยทั่วไปได้มีการ พัฒนารูปแบบการเล่นเพื่อความสวยงาม โดยทำว่าวให้เป็นรูปแบบที่แปลกแตกต่างกันออกไปเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น ว่าวงู ว่าวผีเสื้อ ฯ ลฯ

วิธีการเล่นมีอยู่ 3วิธี คือ

             1.ชักว่าวให้ลอยลมปักอยู่กับที่ เพื่อดูความสวยงามของว่าวรูปทรงต่างๆ
             2.บังคับสายชักให้ชักเคลื่อนไหวได้ตามต้องการ นิยมกันที่ความสวยงาม ความสูง และบางทีก็คำนึงถึงความไพเราะของเสียงว่าวอีกด้วย
             3.การต่อสู้ทำสงครามกันบนอากาศ คือ การแข่งขันว่าวจุฬาและปักเป้าคว้ากันบนอากาศจะจัดให้มีการแข่งขันที่บริเวณ ท้องสนามหลวงกำหนดแดนขณะทำการแข่งขัน ว่าวปักเป้าจะขึ้นอยู่ในดินแดนของตน ล่อหลอกให้ว่าวจุฬามาโฉบเพื่อจะลากพามายังดินแดนของตนโดยให้ว่าวปักเป้าติด ตรงดอกจำปาที่ติดไว้ เมื่อติดดีแล้วว่าวจุฬาจะรีบลากรอกพามายังดินแดนของตน ขณะเดียวกันว่าวปักเป้าก็จะพยายามใช้เหนียงที่เป็นเชือกป่านคล้อกงตัวว่าว จุฬาให้เสียสมดุล และชักลากดึงให้ตกลงมายังดินแดนของตน ในการเล่นว่าวจุฬาลากพาว่าวปักเป้าเข้ามาทีละตัวหรือหลายตัวก็ได้ ถ้าต่างฝ่ายต่างนำคู่แข่งขันมาตกยังดินแดนของ ตนเองได้ก็ถือว่าเป็นฝ่ายชนะแต่ถ้าขณะชักลากพามา ว่าวปักเป้าขาดลอยไปได้ถือว่าไม่มีฝ่ายใดได้คะแนน
           

คุณค่า/แนวคิด/สาระ

             การแข่งขันว่าวเป็นกีฬาซึ่งเป็น เอกลักษณ์ของไทย เป็นศิลปะที่ต้องใช้ความสามารถของผู้ทำว่าวและผู้ชักว่าวเป็นอย่างมากต้อง ใช้ความประณีต และความแข็งแรง ข้อสำคัญต้องอาศัยความพร้อมเพรียงด้วย


















แหล่งที่มาของเนื้อหา : http://schoolweb.eduzones.com/kuraburichaipattanaphittayakom/content.php?view=201502180055232uJVj1f
แหล่งที่มาวีดิโอ :https://www.youtube.com/watch?v=M1AIkvRu7_k

วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การละเล่นพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (การเล่นงูกินหาง)

การละเล่นพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  (การเล่นงูกินหาง)

วิธีเล่น

             การเล่นงูกินหางไม่มีอุปกรณ์การเล่นใด ๆ สามารถเล่นได้ทุกโอกาสจะมีเล่นทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนมากผู้ใหญ่จะเล่นในเทศกาลสำคัญ เช่น สงกรานต์ ส่วนเด็ก ๆ จะเล่นทุกโอกาสที่เด็ก ๆ รวมกันซึ่งมีวิธีการเล่นดังนี้ เริ่มเล่นเมื่อผู้เล่นพร้อมกันแล้วจะเริ่มด้วยการเสี่ยงถ้าใครแพ้คนนั้น ก็จะออกเป็นพ่องู ส่วนผู้ชนะก็จะได้เล่นเป็นแม่งูและลูกงู  ส่วนมากในกลุ่มผู้เล่นจะเลือกเอาคนที่มีร่างกายแข็งแรงหรือรูปร่างใหญ่ในทีม เป็นแม่งู เพื่อเอาไว้ป้องกันลูกงู เมื่อได้ผู้เล่นแล้วพ่องูและแม่งูจะยืนหันหน้าเข้าหากัน ส่วนแม่งูจะมีลูกงูกอดเอวต่อแถวไปข้างหลังแล้วพ่องูจะเริ่มถามแม่งูว่า

             พ่องู “แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน”
             แม่งู “กินน้ำบ่อโสกโยกไปโยกมา” พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา
             พ่องู “แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน”
             แม่งู “กินน้ำบ่อหินบินไปบินมา” พร้อมแสดงอาการบินไปบินมา
             พ่องู “แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน”
             แม่งู “กินน้ำบ่อทรายย้ายไปย้ายมา” พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา
             พ่องู “กินหัวกินหางกินกลางตลอดตัว”

             เมื่อ พ่องูกล่าวเสร็จพ่องูจะเริ่มไล่จับลูกงูที่กอดเอวแม่งูอยู่ส่วนแม่งูก็จะ พยายามป้องกันไม่ให้พ่องูไปแย่งลูกงูได้ เมื่อพ่องูจับลูกงูคนใดได้ลูกงูก็จะออกมายืนอยู่ต่างหากเพื่อรอเล่นรอบต่อไป ส่วนพ่องูจะพยายามแย่งลูกงูให้ได้หมดทุกตัวจึงจะถือว่าจบการเล่นรอบหนึ่ง เมื่อพ่องูจับลูกงูได้ทุกตัวแล้วก็จะเริ่มเล่นใหม่ โดยพ่องูคนเดิมจะกลับไปเป็นแม่งูในรอบต่อไป

คุณค่า/แนวคิด/สาระ

             ๑. ให้ความสนุกสนานในกลุ่มผู้เล่น
             ๒. ฝึกให้เกิดความสามัคคีในกลุ่มผู้เล่น
             ๓. ฝึกฝนการต่อสู้และการหลบหลีกภัยที่จะเกิดกับตน
             ๔. ฝึกการทำงานเป็นกลุ่มตั้งแต่วัยเด็ก




แหล่งที่มาของเนื้อหา ;http://schoolweb.eduzones.com/kuraburichaipattanaphittayakom/content.php?view=20150218005613331f1m4
เเหล่งที่มาของวีดีโอ : https://www.youtube.com/watch?v=GWQgkHKrf_c

การละเล่นประเทศบรูไน (ลากกาบมะพร้าว (Tarik Upeh))

การละเล่นประเทศบรูไน  (ลากกาบมะพร้าว (Tarik Upeh)) สถานที่เล่น บริเวณลานกว้างทั่วไป  เช่น  สนามหญ้าหรือสนามกีฬา ผู้เล่น เล่นไ...